วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

1. การอุปมาทางการเห็น (Visual Metaphor)

- เป็นการอุปมาเบาะรถยนต์ว่าเปรียบเสมือนชักโครกที่สามารถเคลื่อนที่ได้ในรถยนต์












2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)

- รูปนี้แสดงให้เห็นถึงหัวของผู้ชายที่ติดอยู่กับพื้นแล้วส่องกระโปรงของผู้หญิงซึ่งอยู่เหนือความเป็นจริง













3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง (Violating Reality)

- เป็นภาพไขควงแต่เป็นรูปมือซึ่งมีความผิดปกติ













4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
- เป็นภาพกรรไกรกับที่ปัดน้ำฝนรถยนต์
















5. การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย (Subjective Camera)
- เป็นรูปรถไฟที่มีขนาดยาวโดยการใช้มุมกล้องแทนสายตาที่มองเห็น














6. การล้อเลียน (Visual Parodies)
- เป็นภาพล้อเลียนเสนาหอยในรูปแบบการ์ตูนที่มีความตลกและแปลกจากความเป็นจริง

















7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)
- เป็นภาพของแมวที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



วิเคราะห์
1. ชื่อเรื่อง (Title)
การเคหะแห่งชาติ(คลองจั่น)
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ (National Wealth)
และสร้างโอกาสแก่ประชาชนและคนจนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ในระบบสามารถแปลงสินทรัพย์ที่ตนเองพอมีครอบครองอยู่ให้เป็นทุน
เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการในธุรกิจรายย่อยใหม่ๆ
โดยมีหลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน คือ เอกสารแสดงสิทธิของสินทรัพย์แต่ละประเภทต้องเป็นเอกสารแสดงสิทธิ แบบมีเงื่อนไข (Condition Right on Legal Document) และสามารถโอนสิทธิได้ (Transferable) และสินทรัพย์แต่ละประเภทจะต้องดำเนินการจัดระบบฐานข้อมูลให้มีความชัดเจน ถูกต้อง ทันสมัย
จุดแข็ง :การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในชุมชน สร้างสรรค์สังคมที่เข้มแข็ง มีคุณภาพ และน่าอยู่อย่างยั่งยืน
จุดอ่อน : รูปแบบบ้านมีขนาดเล็กและไม่เป็นที่ดึงดูดใจ
โอกาส : การเคหะแห่งชาติ มีชื่อเสียงทางด้าน บ้านเอื้ออาทร สำหรับคนมีรายได้น้อย จึงทำให้เป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป
ปัญหา : ปัจจุบัน ธุรกิจ หมู่บ้านจัดสรร มีปริมาณมากขึ้นจึงทำให้การเคหะแห่งชาติ ต้องมีการพัฒนาการทำหมู่บ้านเอื้ออาทรที่น่าสนใจมากขึ้น
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1.เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยผู้ครอบครองสิทธิการเช่าอาคารแฟลตของ การเคหะแห่งชาติและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในรูปแบบในบัญชีปกติ
ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยสามารถนำสิทธิการเช่าอาคารแฟลตมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการขอสินเชื่อจากธนาคาร
2.เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสลงทุนประกอบการธุรกิจย่อยรายใหม่ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างงาน
และเพิ่มรายได้ของประชาชนในระดับพื้นฐานของประเทศ
3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารของรัฐเข้ามามีบทบาทหลักในการสนับสนุนการจัดหาทุนในการประกอบธุรกิจรายย่อยของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
4.เพื่อให้เป็นกลไกในการกระตุ้นและสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ (Multiplier Effect)

4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
-คนที่มีรายได้น้อย
-คนวัยทำงาน
-เพศชาย/หญิง 25-40 ปี

5. แนวความคิด (Concept)
ลดรายจ่าย กินอยู่ง่าย ๆ ไม่ฟุ่มเฟือย

6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญ และอยู่ในช่วงเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยมีราคาค่อนข้างสูง การเคหะแห่งชาติจึงเข้ามามีบทบาทในการทำบ้านเอื้ออาทรที่มีราคาถูกทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
ปลอดภัย/สบายใจ/อยู้ใกล้
8. ผลตอบสนอง (Desired response)
-เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
-การทำบ้านเอื้ออาทรได้ผลตอบรับดี
-ประสบผลสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
















1. ชื่อเรื่อง (Title)
-Panasonic: Eagle

2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
-จุดแข็ง เป็นโฆษณาที่ใช้เหยี่ยวเป็นตัวชี้ให้บอกว่ากล้องยี่ห้อนี้สามารถซูมได้เหมือนๆกับตาของเยี่ยวในเวลาที่มองจ้องเหยื่อ
-จุดอ่อน คนไม่ค่อยเข้าใจในตัวโฆษณา
-โอกาส ยี่ห้อเป็นที่รู้จักมาก จึงทำให้มีผู้สนใจในการโฆษณา
-ปัญหา มีคู่แข่งค่อนข้างมาก
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
-เพื่อการประทับใจในการใช้กล้องยี่ห้อนี้
-เพื่อให้ทราบถึงเทคโนโลยีใหม่ของกล้องยี่ห้อนี้
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
-เพศ ชาย/หญิง ไม่จำกัดอายุ
5. แนวความคิด (Concept)
-ซูมชัดดั่งตาเหยี่ยว
6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
-เป็นการโฆษณามีรูปแบบขายโดยการใช้เหยี่ยวและมีสายกล้องห้อยอยู่ข้างๆตาของเหยี่ยว
เปรียบเสมือน เทคโนโลยีใหม่ของกล้องที่สามารถซูมได้เหมือนตาของเหยี่ยว
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
-คม/ชัด/ลึก
8. ผลตอบสนอง (Desired response)
-มีผู้รู้จักBandนี้ค่อนข้างมาก
-ประสบผลสำเร็จในยอดขาย

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า

องค์ประกอบพื้นฐาน

หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลเพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล

เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้